ไม่อยากบวกกับลูก : ลองทำตัวเหมือนครู! รอดหรือร่อแร่?
โรงเรียนสมัยนี้จะให้เด็กๆทำกิจกรรมมากขึ้น
- จะแบ่งเป็นกลุ่มๆ ให้เด็กทำกิจกรรมในกลุ่มย่อยค่ะ
- ผลคือ แต่ละกลุ่มได้ผลลัพธ์เหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้าง
- เวลาคุณครูให้เด็กๆอภิปราย - ถามตอบ ก็จะพบว่าเด็กแต่ละคนมีมุมมองต่อ "เรื่องเดียวกันต่างกัน"
- กิจกรรมนี้จึงทำให้เด็กๆได้เห็น ผลที่หลากหลาย ความคิดที่หลากหลาย ประสบการณ์ที่หลากหลาย มากกว่า ผลสรุป/คำตอบจากครูเพียงคนเดียว
เราชอบวิธีนี้ - มันมีเวทีให้เด็กๆแสดงความคิดเห็นมากขึ้น
ประยุกต์ใช้เอง
ทำตัวเป็นครู
ก็ยาก - แต่ก็ไม่แย่ และแม่ไม่เหนื่อยด้วยนะเออ
ไม่เหนื่อยกาย แต่เมื่อยปากนิดหน่อย (วิธีนี้เหมาะกับเด็กๆที่เรียนชั้นอนุบาลขึ้นไป)
มันจะมีความเป็นวิทยาศาสตร์หน่อยๆ ซึ่งเด็กๆทุกคนชอบวิทยาศาสตร์ค่ะ เพราะเค้ามีความอยากรู้อยากเห็น และมีความเป็นเหตุ - เป็นผล ตามวัย แม่อย่างเราก็ต้องนั่งสังเกต - ให้เวลา - ถามเมื่อเค้าเริ่มชวนคุย
สังเกต - ให้เวลา - ถามเมื่อเค้าเริ่มชวนคุย
สังเกตวิธีการเล่นของเค้า - ลูกเราเล่นรถบรื้นๆธรรมดา แทนชื่อคันนั้นคันนี้เป็นเพื่อนของเรา แล้วก็แล่นไปแล่นมา เค้าก็สมมุติเหตุการณ์แบบ "ชนกันตู้ม ไฟลึกท่วม" "ตกภูเขา - ตายไปเลย"
อะโห้ แม่อึ้งดิคะ action มาก ระเบิดภูเขาเผากระท่อมสุด
แม่ใจเย็นไม่ขัดจังหวะ ปล่อยให้ลูกเล่นคิวบู๊ไปก่อน = ให้เวลา แต่ช่วงเวลานี้ก็เก็บทุกเม็ดอยู่นะ ทำให้รู้เลยว่าเนื้อหาในการเล่นนี่แอบรุนแรงอยู่นะ แต่ไม่ได้ว่าอะไรรอเค้าชวนคุยก่อน
เมื่อลูกเริ่มชวนคุย - แทรกเนื้อหาคุณธรรมเข้าไปแบบเนียนๆ สมมุติเหตุการณ์ซ้ำขึ้นมา ทำให้มันเป็นเหตุและผล ปิดท้ายด้วยทายว่าการกระทำนี้ผิดศีลข้อไหน
ยกตัวอย่างเหตุการณ์จริง :
ลูก : แม่จ๋าดูสิ รถชนกันตู้มไหลตกเขาไปเลย
แม่ : ทำไมรถถึงชนกันครับ
ลูก : ก็คันนี้..บลาๆ ทำอย่างนี้..บลาๆ ก็เลย..บลาๆ
แม่ : แบบนี้เจ็บตายเลยเนอะลูก ไม่เอาๆ เราไม่ปล่อยให้เค้าบาดเจ็บดีกว่า เราจะช่วยเค้ายังไงดี?
ลูก : หนูจะเอารถเครนมายกรถขึ้นมา
แม่ : มีคนเจ็บติดอยู่หนูจะทำยังไงลูก
ลูก : หนูจะเรียกกู้ภัยมา
แม่ : คราวหน้า ต้องระวังหน่อยนะลูก ชอบไม่ชอบ ก็อย่าไปทำร้ายใคร จำได้ไหมผิดศีลข้อไหน
ลูก : ฆ่าสัตว์ครับ
แม่ : ดีมากลูก เราจะไม่ทำให้ใครบาดเจ็บ ถ้าเกิดขึ้นก็ต้องช่วยเหลือกัน
อย่าลืมการสะท้อนคิด
คือการถามว่า "ชอบ" หรือ "ไม่ชอบ" "เพราะอะไร"
กิจกรรมหลายอย่างที่คุรพ่อคุณแม่จัดให้ลูกทำ ส่วนใหญ่จะมาจากสิ่งที่พ่อแม่คิดว่าดี - แต่ลูกอาจจะไม่ได้คิดอย่างนั้น
การถาม ทำให้เรารู้จักลูกดีขึ้นว่าเค้าชอบ หรือ ไม่ชอบอะไร เพราะอะไร
เช่น ลูกเราไม่ชอบภาษาอังกฤษเพราะเค้าตาม teacher ไม่ทัน ไม่ชอบวิชาดนตรี เพราะเสียงดัง
พอเรารู้สาเหตุแล้ว..แต่จะไม่ให้เรียนหรือปล่อยเซอร์ไปเลยก็ไม่ใช่ ยังไงก็ต้องเรียนเพราะเป็นวิชาบังคับอะนะ
ลูกไม่ชอบ English teacher - แต่ลูกชอบเรา เอ้า สอนเองค่ะ ระดับอนุบาล..ยังพอได้อยู่ 55
ลูกไม่ชอบดนตรีในคาบ - แต่อยู่บ้านชอบร้องเพลง แสดงว่าอาจจะไม่ชอบเล่นดนตรีเป็นกลุ่ม เลยชวนเรียนดนตรีเดี่ยวๆ (ไปเรียนเปียโน) ปรากฏว่าชอบ
การ reflect จะทำให้เรารู้จักเค้าเพิ่มด้วยเช่นกัน
เราว่าการสะท้อนคิดคือการ "ให้เกียรติ" ลูกในฐานะคนๆนึง
อย่างที่เรียนแจ้งไปว่า กิจกรรมที่พ่อแม่คิดว่าดีแต่จริงๆลูกอาจจะไม่ชอบ ดังนั้นการสะท้อนคิด คือ การยืนยันว่า พ่อแม่เลือกถูกหรือผิด
เพราะพ่อ - แม่ - ลูก เองไม่สามารถรู้หรือเดาแทนกันได้ว่า ลูกจะชอบหรือไม่ชอบอะไร
ก็ต่อเมื่อให้เค้าได้มีโอกาสลองก่อนและแชร์ความรู้สึกกันในภายหลัง